( Innovation and Information Technology in Education )
ผศ.วิวรรธน์ จันทร์เทพย์ , อ.มงคล ภวังคนันท์ , อ.สุจิตตรา จันทร์ลอย
โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง
..........................................................................................................................................................
จุดประสงค์
1. ให้ผู้เรียนสามารถอธิบายถึงความหมาย หลักการ และแนวคิดของนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาได้อย่างถูกต้อง
2. ให้ผู้เรียนสามารถอธิบายถึงระบบการเรียนรู้ กระบวนการสื่อความหมาย สื่อเพื่อการเรียนรู้ได้อย่างถูกต้อง
3. ให้ผู้เรียนสามารถอธิบายถึงการแสวงหา การเลือก การใช้และการเก็บรักษานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาได้อย่างถูกต้อง
4. ให้ผู้เรียนสามารถอธิบายถึงหลักการเพื่อการพัฒนาสื่อเพื่อการเรียนรู้ที่เป็นนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาได้อย่างถูกต้อง
5. ให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาและแสวงหาแหล่งการเรียนรู้ เครือข่ายการเรียนรู้ ที่เป็น นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาได้
6. ให้ผู้เรียนสามารถออกแบบ สร้าง ใช้ ประเมินและพัฒนาสื่อเพื่อการเรียนรู้ที่เป็นนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศให้เหมาะสมกับท้องถิ่นของตนได้
..........................................................................................................................................................
จุดประสงค์ที่ 1 : ความหมาย หลักการ และแนวคิดของนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาได้อย่างถูกต้อง / 25 ตุลาคม 2551
1.1 ความหมายของนวัตกรรม
นว = ใหม่
กรรม = ความคิด การกระทำ เจตนา
นวัตกรรม หมายถึง ความคิด การกระทำใหม่ๆที่นำมาใช้หรือปรับปรุงเพื่อให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น นวัตกรรมแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. สิ่งใหม่ๆ +ปรับปรุง + ประสิทธิภาพ
2. งานเก่า + ปรับปรุง + ประสิทธิภาพ
1.2 นวัตกรรมตรงกับภาษาอังกฤษ คำว่า “ Innovation ”
1.3 สิ่งที่ถือเป็นนวัตกรรม
1.ของใหม่ๆ
2. วิจัย / ทดลอง
3. ปรับปรุง / ประสิทธิภาพ
4. ไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน
*ข้อ 1-3 ถือเป็นเทคโนโลยี แต่ข้อ 1-4 ถือเป็นนวัตกรรม
1.4 ความหมายของเทคโนโลยี
1. เทคโนโลยี ตรงกับภาษาอังกฤษคำว่า “ Technology “ หมายถึง การนำเอากระบวนการ วิธีการ และแนวความคิดใหม่ๆ มาใช้หรือประยุกต์ใช้อย่างมีระบบเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างประสิทธิภาพ
2. เทคโนโลยี ตรงกับภาษากรีกคำว่า “Technologia “ หมายถึง การทำงานอย่างเป็นระบบ
3. เทคโนโลยี ตรงกับภาษาลาตินคำว่า “TEXERE “ ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษคำว่า To weave , To construct
1.5 เทคโนโลยีตามทัศนะทางวิทยาศาสตร์กายภาพ ( Science Technology )
ความหมายข้างต้นเกี่ยงกับเครื่องยนต์กลไกไฟฟ้าอิเล็คทรอนิค
1.6เทคโนโลยีตามทัศนะทางพฤติกรรมศาสตร์ ( Behaviral Technology )
ความหมายตามทัศนะนี้มองไปที่พฤติกรรม โครงสร้างพฤติกรรมเป็นหลัก
1.7 เทคโนโลยี กับ นวัตกรรม อะไรเกิดก่อนกัน ?
เทคโนโลยี <------------------------------------------------------------>นวัตกรรม
*แล้วแต่กาลเทศะว่าเราจะกำหนดสิ่งใดเป็นตัวตั้ง
1.8 ความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษา
เทคโนโลยีทางการศึกษา หมายถึง การนำวัสดุ อุปกรณ์หรือวิธีการใดๆมาใช้อย่างเป็นระบบเพื่อให้การดำเนินงานทางการศึกษาเป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพ
................................................................................................................
คำถามประจำจุดประสงค์ที่ 1
1. ความหมายของนวัตกรรม
2. นวัตกรรมตรงกับภาษาอังกฤษคำว่าอะไร
3 .สิ่งที่ถือเป็นนวัตกรรมมีอะไรบ้า
4.ท่านมีแนวทางในการสร้างนวัตกรรมอย่างไร
1. ความหมายของนวัตกรรม
2. นวัตกรรมตรงกับภาษาอังกฤษคำว่าอะไร
3 .สิ่งที่ถือเป็นนวัตกรรมมีอะไรบ้า
5. เทคโนโลยีคืออะไร
6. เทคโนโลยีตรงกับภาษาอังกฤษคำว่าอะไร
7. เทคโนโลยีตรงกับภาษากรีกคำว่าอะไร
8. เทคโนโลยีตรงกับภาษาลาตินคำว่าอะไร
9.ความหมายของเทคโนโลยีตามทัศนะทางวิทยาศาสตร์กายภาพ
10.ความหมายของเทคโนโลยีตามทัศนะทางพฤติกรรมศาสตร์
11. เทคโนโลยี กับ นวัตกรรม ต่างกันอย่างไร
12.เทคโนโลยี กับ นวัตกรรม อะไรเกิดก่อนกัน ?
ตอบคำถาม
4. ท่านมีแนวทางในการสร้างนวัตกรรมอย่างไร
- แนวทางในการสร้างนวัตกรรมของข้าพเจ้ามีกระบวนการดังนี้
4.1 การระบุปัญหา : การสร้างนวัตกรรมเกิดจากความต้องการในการแก้ไขปัญหาเพื่อคลายปัญหานั้นในขณะเดียวกันเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินให้ดียิ่งขึ้น
4.2 การกำหนดจุดมุ่งหมาย : การกำหนดจุดมุ่งหมายเกิดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหานั้นและกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
4.3 การศึกษาข้อกำหนดต่างๆ : การศึกษาข้อจำกัดในบริบทที่จะใช้นวัตกรรมเพื่อประโยชน์ในการสร้างและพัฒนานวัตกรรมให้สามารถใช้ได้จริง
4.4 การประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรม : เมื่อเราทราบถึงปัญหา จุดมุ่งหมาย และข้อจำกัดต่างๆแล้ว นำไปสู่การส้างนวัตกรรมซึ่งอาศัยความรุ้ ประสบการณ์ ข้อมูล และความคิดสร้างสรรค์
4.5 การทดลองใช้ : การทดลองใช้เป็นการศึกษาเพื่อดูว่านวัตกรรมนั้นสามารถนำไปใช้ได้จริงและได้ผลเพียงใด ผลการทดลองใช้จะช่วยให้เราแก้ไขจุดบกพร่องของนวัตกรรมนั้นๆ ดังนั้นขั้นตอนการทดลองใช้นวัตกรรมประกอบด้วยการทดลองใช้ การประเมินผล และการปรับปรุง
4.6 การเผยแพร่ : เมื่อเราแน่ใจว่านวัตกรรมมีคุณภาพและประสิทธิภาพ จึงนำไปสู่การเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักและนำไปใช้กันต่อไป
4.7 การยอมรับ : การยอมรับหรือต่อต้านนวัตกรมมนั้น ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอน เมื่อนวัตกรรมใช้ไม่ได้ผลแล้งจึงนำไปสู่การสร้าง " นวัตกรรม " ต่อไป
12. เทคโนโลยี กับ นวัตกรรม อะไรเกิดก่อนกัน
การพิจารณาประเด็นที่ว่า " เทคโนโลยี กับ นวัตกรรม อะไรเกิดก่อนกัน " เราควรเริ่มพิจารณาจาก ความหมายของทั้งสองคำว่ามีความคล้ายคลึงกัน ซึ่งหมายถึง ความคิด การกระทำ ที่นำมาประยุกต์ใช้อย่างมีระบบเพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
เทคโนโลยีและนวัตกรรมมีความสัมพันธ์กัน ดังเห็นได้จาก เมื่อเราใช้นวัตกรรมจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบันแล้ว นวัตกรรมนั้นจึงกลายเป็นเทคโนโลยี และเมื่อเทคโนโลยีนั้นๆใช้ไม่ได้กับสภาพการณ์ใดๆ ทำให้มนุษย์สร้างนวัตกรรมขึ้นมาเพื่อประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ดังนั้นการพิจารณาประเด็นที่ว่าเทคโนโลยีกับนวัตกรรม อะไรเกิดก่อนกัน อยู่ที่ว่าเรากำหนดสิ่งใดเป็นตัวตั้ง เพราะทั้งสองอย่างต่างสัมพันธ์กันดั่งคำถามที่ว่า ไก่ กับไข่ อะไรเกิดก่อนกัน
................................................................................................................
ความหมายของการศึกษา
1. " education " ( n) ( an oraninazed system of ) intellectual and moral training and instruction. จาก Oxford Student's Dictionary of Current English หน้า 202
2. ม.ล. ปิ่น มาลากุล ให้ความหมายของ" การศึกษา " หมายถึง เครื่องมือที่ทำให้เกิดความเจริญงอกงามในตัวบุคคล
3. John Dewey, 1973 กล่าวว่า การศึกษา คือ ประสบการณ์ชีวิตและความเจริญงอกงามที่เป็นๆไปอย่างมีประสิทธภาพตลอดชีวิต
ส่วนข้าพเจ้าให้ความหมายคำว่า " การศึกษา " หมายถึง กระบวนการคัดเลือกสิ่งต่างๆเพื่อให้เรานำมาใช้ประโยชน์ต่อตนเองและสังคม
.................................................................................................................
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น